โรงเรียนบ้านประคำ
หมู่ที่ 2 บ้านประคำ  ตำบลบ้านปรางค์  อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา 30260
เบอร์โทรศัพท์ 044002707
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรที่เปิดสอน
โรงเรียนบ้านประคำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖
เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล ๓ จนถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓
จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของสถานศึกษามีแนวปฏิบัติ  ดังนี้
          ๑.  ระดับการศึกษา   กำหนดหลักสูตรเป็น ๒ ระดับ  ตามโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑ และตามภารกิจหลักของการจัดการเรียนการสอน
ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นของสถานศึกษา ดังนี้
                   ๑.๑  ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖)  การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้
แบบบูรณาการ  
          ๑.๒ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓) เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนินชีวิตมีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ    
          ๒.  สาระการเรียนรู้  สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านประคำ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑  ได้กำหนดไว้ในหลักสูตร  ประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม  จริยธรรมของผู้เรียน ๘ กลุ่ม คือ
                   ๒.๑  ภาษาไทย
                   ๒.๒  คณิตศาสตร์
                   ๒.๓  วิทยาศาสตร์
                   ๒.๔  สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                   ๒.๕  สุขศึกษาและพลศึกษา
                    ๒.๖  ศิลปะ
                   ๒.๗  การงานอาชีพและเทคโนโลยี
                   ๒.๘  ภาษาอังกฤษ
          ๓.  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย  ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข  แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้
                    ๓.๑  กิจกรรมแนะแนว  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง
รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
                   ๓.๒  กิจกรรมนักเรียน  เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำ
ผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา  การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันกัน  เอื้ออาทร และสมานฉันท์  โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์วางแผนปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนในหลักสูตรสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านประคำ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑ ประกอบด้วย
                   ๓.๒.๑  กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี
                   ๓.๒.๒ กิจกรรมชุมนุม
          ๓.๓  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์   เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร
เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ
๔. เวลาเรียน  หลักสูตรสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านประคำ  พุทธศักราช ๒๕๕๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑  ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำ
สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ซึ่งผู้สอนสามารถเพิ่มเติมได้ตามความพร้อม
และจุดเน้นของสถานศึกษา  โดยสามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสภาพของผู้เรียน ดังนี้
                    ๔.๑  ระดับชั้นประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี
โดยมีเวลาเรียนวันละ ไม่เกิน ๕ ชั่วโมง
                    ๔.๒  ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓) ให้จัดเวลาเรียน
เป็นรายภาคมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน ๖ ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ ๔๐ ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ ๑ หน่วยกิต (นก.)